วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

ผลของการกินอาหารขยะ

ผลที่ตามมาของการกินอาหารขยะต่อผู้ที่ศึกษาเล่าเรียน มีผลทำให้ผลการเรียนตกต่ำอีกด้วย ในสหรัฐอเมริกามีงานวิจัยชิ้นสำคัญที่บ่งชี้ถึงพิษร้ายของอาหารขยะ และผลดีถ้าได้ขจัดอาหารขยะออกจากโรงเรียนที่มีความน่าเชื่อถือมากชิ้นหนึ่ง กล่าวคือ ดร.เอลิซาเบท คาแกน ผอ.กองบริการอาหารโรงเรียน ในคณะกรรมการการศึกษาโรงเรียนเทศบาลมหานครนิวยอร์ก ร่วมกับบาร์บารา เอฟ. เมเยอร์ ที่ปรึกษากองสุขศึกษาแห่งนครนิวยอร์ก ได้ทำวิจัยชื่อ "The Impact of a Low Food Additive and Sucrose Diet on Academic Performance in 803 New York City Public School" ตีพิมพ์ในวารสาร International Journal of Biosocial Research, Vol8Z(2): 185.196, 1986 โดยทำให้โรงเรียนเทศบาล 803 โรงเรียนในนครนิวยอร์ก มีเด็กๆร่วมอยู่ในการวิจัยนี้ 1 ล้านกว่าคน เธอเริ่มจากการเก็บคะแนนผลการเรียนของนักเรียนแต่ละโรง ก่อนการวิจัยซึ่งพบว่าผลการเรียนของเด็กโรงเรียนเหล่านี้ต่อเนื่องกัน 3 ปี ซึ่งพบว่าอยู่เปอร์เซนไทล์ที่ 41%, 43% และ 39% ตามลำดับ ในปีแรกที่วิจัยได้ลดอาหารขยะออกจากโรงเรียนจำนวนหนึ่ง พบว่าผลการเรียนดีขึ้นชัดเจนมาอยู่เปอร์เซนไทล์ที่ 47% ปีต่อมาลดอาหารขยะลงไปอีกพบว่าการเรียนดีขึ้นเป็น 51% ปีต่อมาเพื่อให้แน่ใจว่าผลการเรียนที่ดีขึ้นมาจากปัจจัยเรื่องการลดอาหารขยะจึงคงระดับอาหารขยะที่เหลืออยู่ไว้ตามเดิม ก็พบว่าผลการเรียนอยู่ที่ 51% ตามเดิม ปีถัดไปจึงลดอาหารขยะลงอีกก็พบว่าผลการเรียนดีขึ้นเป็น 55% งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการยืนยันอย่างดีถึงผลร้ายของการกินอาหารขยะที่มีต่อการเรียนการศึกษาของเด็กๆ และบอกเราว่า ถ้าอยากให้เด็กๆของเราฉลาดขึ้น ไม่ต้องจับไปติวเข้ม เข้าโรงเรียนกวดวิชาให้เด็กๆเสียคุณภาพชีวิตตั้งแต่เยาว์วัย ขอเพียงแต่ให้ขจัดอาหารขยะออกไปจากโรงเรียนได้เท่านั้นเอง

อันตรายที่มาจากอาหารขยะ

  • นักโภชนาการระบุโรคภัยที่จะมากับจังก์ฟู้ด ที่ให้พลังงานสูง แต่โปรตีนน้อยมาก และคุณค่าทางโภชนาการต่ำ อาทิ
  •  โรคหัวใจ คอเลสเตอรอลสูง เพราะกินอาหารที่มีไขมันบ่อย เมื่อสะสมในร่างกายเยอะๆ เสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิต
  •  โรคข้อกระดูกอักเสบจากน้ำหนักที่มากเกินส่งผลให้ข้อเข่าและสะโพกล้า กระดูกอ่อนอาจเสื่อมสภาพ หรือหากสะสมไขมันในตับ อาจทำให้เป็นโรคตับแข็ง 
  •  เมื่อมีไขมันที่หน้าท้องมากเกิน ทำให้เกิดการต้านอินซูลิน สะสมกลูโคสในร่างกาย ทำให้เป็นเบาหวาน ส่งผลทำลายหลอดเลือดในจอตา ทำให้ตาบอด
  • รวมถึงโรคไขมันในเลือดสูง เสี่ยงต่อการเป็นเส้นเลือดในสมองอุดตัน หลอดเลือดพิการ เพราะไขมันไปเกาะผนังหลอดเลือด
  • นอกจากนี้นักวิจัยยังพบอีกว่า การกินอาหารที่มีแต่ไขมันสูงตั้งแต่เด็กๆ จะเป็นอุปสรรคร้ายแรงต่อพัฒนาการทางสมอง เพราะไขมันจะหยุดยั้งสมองไม่ให้รับพลังงานจากกลูโคสที่จำเป็นในการพัฒนาสมองของเด็กวัยกำลังเจริญเติบโต ซึ่งสมองของเด็กจะได้รับความกระทบกระเทือนจากภาวะดังกล่าวนี้ อาหารขยะยังเป็นสารก่อภูมิแพ้ โดยมีสารที่ก่ออาการแพ้หลายกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มสารแต่งสีอาหาร เช่น ทาร์ทราซีน (สีเหลืองส้ม) คาร์มัวซีน (สีม่วงแดง) อะมาแรนต์ (สีแดง) อพอนเซีย (สีแดง) ซึ่งพบได้ในขนมและน้ำอัดลมต่างๆ ที่มีสีสันสดใส

    อาหารขยะ ได้แก่ขนมกรุบกรอบ บะหมี่ซอง และน้ำอัดลม อาหารกลุ่มนี้เป็นแป้งที่ขัดสีเอาเส้นใย และวิตามินออกหมด น้ำตาลก็ฟอกขาว แล้วแถมเติมด้วยสารแต่งสี แต่งกลิ่น กับผงชูรสเข้าไป ตามด้วยกระบวนการทอดในน้ำมันซ้ำๆ เวลาที่ร่างกายรับเอาแป้งขัดขาวหรือน้ำตาลฟอกขาวเข้าไป จะย่อยแล้วดูดซึมเข้าสู่เซลล์อย่างรวดเร็ว เข้าสู่วงจรชีวเคมีที่เรียกว่า วงจรเครปส์ ภายในเซลล์แล้วเผาผลาญให้เกิดพลังงานทันที โดยปกติวงจรเคมีนี้ต้องการวิตามินบีทั้งกลุ่ม ทำหน้าที่เป็นโคเอนไซม์เพื่อจรรโลงให้กระบวนการเคมีผ่านไปโดยราบรื่น ในเมื่อไม่ได้รับวิตามินมาพร้อมกับอาหาร ร่างกายจะต้องใช้วิตามินที่เป็นทุนเก่า ซึ่งปกติใช้อยู่ในเซลล์สมอง มาช่วยให้กล้ามเนื้อได้เผาผลาญให้เกิดกำลังงาน ผลก็คือ เมื่อกินอาหารกลุ่มนี้บ่อยๆ วิตามินบีจะหมดไปจากระบบประสาทอย่างรวดเร็ว เป็นเหตุให้เกิดอาการต่างๆ เช่นสมองมึนงง สมาธิสั้น หงุดหงิด ซุกซนเกินเหตุ และง่วงเหงาซึมเซา

    สารแต่งสี แต่งกลิ่น สารกันบูด สารกันเชื้อราและผงชูรส เป็นสารเคมีที่ร่างกายไม่ได้ใช้ประโยชน์ ีเป็นเพียงกับดักที่ล่อตาล่อลิ้นให้กินไม่ยั้งกลืนไม่หยุดเท่านั้นเอง เมื่ออยู่ในร่างกายก็รังแต่จะเป็นขยะที่เป็นภาระแก่ตับและไต ต้องคอยขับออก จึงทำให้ต้องทำงานหนัก และเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคไตวาย ตับอักเสบ ไขมันพอกตับ และมะเร็งได้ในเวลาที่ไม่นาน กระบวนการผลิตที่ใช้น้ำมันทอดซ้ำๆ ในแต่ละวัน ที่โรงงานทอดบะหมี่ซอง เครื่องจักรแต่ละเครื่องจะทอดบะหมี่ได้ 50,000 ซองต่อวัน ผลก็คือ กระบวนการเผาไหม้ทำให้เกิดอนุมูลอิสระ ซึ่งยิงทำลายโครงสร้างของกรดไขมันในน้ำมัน แตกตัวเป็นสารโมโนเมอร์ ไดเมอร์ ไตรเมอร์ โพลีเมอร์ บ้างม้วนตัวแล้วจับกับคลอไรด์ กลายเป็นสารไดอ็อกซิน ซึ่งทั้งหมดเป็นบั่นทอนภูมิต้านทาน เป็นเหตุผู้บริโภคมีภูมิต้านทานต่ำ ภูมิแพ้ และก่อมะเร็งในที่สุด

อาหารขยะ

ทุกวันนี้สังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปมากทำให้วิถีชีวิต และพฤติกรรมของคนไทยเปลี่ยนไปต้องฝากท้อง กับอาหารสำเร็จรูป และอาหารด่วนซึ่งส่วนใหญ่มาในรูปอาหารตะวันตก ประเภทสะดวก และรวดเร็ว ทำให้ร้านสะดวกซื้อมีเพิ่มมากขึ้น เพราะซื้อหาได้ทั่วไป ถูกปากคนรุ่นใหม่ ใส่บรรจุภัณฑ์ เก๋ไก๋ พกพาสะดวก ใครบ้างที่รู้ทั้งรู้ว่าของกินเหล่านี้เป็นตัวทำน้ำหนักทั้งนั้น แต่ก็ยังกินไม่บันยะบันยัง หนุ่มๆ สาวๆ ระวังจะเป็นโรคอ้วน
Junk Food เป็นศัพท์สแลงของอาหารที่มีสารอาหารจำกัด หรือที่เรียกกันว่า อาหารขยะ อาหารไร้ประโยชน์ อาหารที่นักโภชนาการไม่เคยแนะนำ แต่ขึ้นชื่อว่า จังก์ ฟู้ด จะต้องประกอบด้วยสารอาหารที่ให้พลังงานเป็นส่วนใหญ่ เช่น น้ำตาล ไขมัน แป้ง และมีส่วนประกอบโปรตีน วิตามิน เกลือแร่ น้อยมาก ตัวอย่างเช่น ขนมขบเคี้ยวรสเค็ม รสหวาน ลูกอม หมากฝรั่ง ขนมหวานทุกชนิด อาหารทอด อาหารจานด่วนบางชนิด และน้ำอัดลม หรือมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Empty Calorie มีความหมายว่า ไม่มีอะไรที่เป็นประโยชน์เลย เทียบกับอาหารไทยโดยพื้นฐานแล้วในหนึ่งจานให้คุณค่าหลากหลาย ไขมันต่ำกว่า อุดมด้วยสมุนไพรที่เป็นคุณต่อสุขภาพ แต่ด้วยความเร่งรัดของวิถีชีวิตทำให้คนไม่มีเวลาเลือกหา และไม่ยอมเสียเวลาปรุงอาหารรับประทานเอง อย่างน้อยหนึ่งมื้อในหนึ่งวันของใครหลายคนจึงเลือกจังก์ฟู้ดเป็นทางออก ขณะเดียวกันก็ยอมเสียสตางค์แพงๆ เลือกผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมาเติมเต็มทดแทนส่วนที่ขาดหายไป